วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ฉันทะกับการพัฒนาบุคคล

 ฉันทะกับการพัฒนาบุคคล ตามธรรมชาตินั้น แรงจูงใจมีทั้งฝ่ายดีและฝ่ายไม่ดีมีฝ่ายอกุศลและฝ่ายกุศล หรือความอยากมี 2 ประเภท ก็คือ ความอยากที่เป็นตัณหา และความอยากที่เป็นฉันทะ ซึ่งพร้อมที่จะนำออกมาใช้ได้พัฒนาบุคคลได้การกระทำที่ดีงามกิจกรรมทุกอย่าง ที่เป็นไปได้เพื่อแก้ปัญหาของมนุษย์ ตลอดจนการบรรลุจุดหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา จะต้องอาศัยแรงจูงใจฝ่ายดี ที่เรียกว่า ฉันทะ ทำนองเดียวกับการทำความชั่ว และกิจกรรมที่ก่อให้เกิดปัญหาสร้างความทุกข์ ย่อมถูกกระตุ้นเร้าด้วยตัณหาที่มีอวิชชาเป็นมูลฐาน ดังกระบวนการพัฒนาฝึกอบรมสั่งสอนทุกอย่าง ทั้งด้านการศึกษาหรือปฏิบัติธรรมต้องช่วยให้บุคคลปลุกฟื้นฉันทะขึ้นมาเป็น พลังชักจูง การกระทำและนำชีวิตไปสู่จุดหมายที่ดีงาม ซึ่งจะก่อประโยชน์สุขที่แท้จริงแก่ชีวิต และโลกที่แวดล้อมอยู่
             พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต) (2542ข, หน้า หน้า 527) กล่าวว่า ฉันทะ จึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถทำให้คนดีมีความทุกข์ได้ เพราะเป็นปุถุชนผู้ถูกครอบงำด้วยการถือมั่น และอาจกระทำการที่รุนแรงเสียหายเกิดขึ้นได้ ถ้าเกิดทั้งความยึดมั่นและสติปัญญาที่ไม่เพียงพอ อย่างไรก็ตาม ฉันทะก็เป็นพลังอันสำคัญที่จะช่วยให้บุคคลได้เริ่มเข้าสู่กุศลธรรม จึงจำเป็นที่ต้องปลุกฟื้นให้มีอย่างรู้เท่าทันส่วนโทษที่เกิดกับบุคคลนั้น ยังสามารถเกิดขึ้นได้ แต่เรายังมีทางหลักเลี่ยงหรือหาทางแก้ไขได้หากมีฉันทะที่กำกับด้วยญญา ปุถุชนในสังคมปัจจุบันนั้นมีจิตใจที่พร้อมจะไหลตามตัณหาโดยง่าย การใช้พลังของฝ่ายลบมาหักห้าม เช่น บอกว่าอย่าทำผิดศีล อย่าละเมิดระเบียบเป็นต้น ไม่เพียงพอเพราะการรักษาศีลนั้นหากขาดฉันทะ ก็รักษาศีลแทบไม่ได้ ฉันทะที่เป็นพลังฝ่ายบวกซึ่งตรงกันข้ามกับตัณหาที่จะช่วยยับยั้ง ข่ม และกำจัดตัณหาได้ผล ฉันทะเป็นกุญแจสำคัญที่จะไขไปสู่ความสำเร็จในการแก้ปัญหาอันเกิดจากความชั่ว ร้ายทั้งปวง แล้วช่วยก้าวหน้าไปสู่กุศลธรรมได้สำเร็จ หากไม่สามารถสร้างฉันทะหรือความใฝ่ดีให้มาเป็นคู่แข่งกับตัณหาแล้ว ย่อมยากที่พัฒนางานให้ดี ให้เป็นผลที่ดีได้ และจะแก้ไข หรือขจัดปัญหาความชั่วร้ายในสังคมปัจจุบันได้ยากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นั้น ผู้ที่มีฉันทะมีกำลังมากกว่าตัณหาเป็นกุศลธรรมฉันทะย่อมข่มตัณหาในทางร้าย ได้ เช่น ความริษยา ไม่สามารถเห็นคนอื่นได้ ทนอยู่ไม่ได้
             ส่วนผู้ที่มีฉันทะฝ่ายดี ถ้ายังไม่บรรลุความดีงามสูงสุดก็ทนอยู่นิ่งเฉยไม่ได้ (ที่จะไม่ทำให้ดี) เช่น นักศึกษาเพียงค้นคว้าหาคำตอบเพียงครึ่งเดียวก็พอที่จะสอบผ่านได้คะแนนดี แต่กลับเพียรพยายามให้เข้าถึงความรู้ที่แท้จริง หรือรวบรวมความรู้ให้ได้มากจนสุดกำลัง คนที่อยู่ในฐานะได้เปรียบ ก็ไม่เอาเปรียบ เพราะกลัวเสียธรรมมากกว่ากลัวเสียผลประโยชน์ซึ่งตรงกันข้ามกับตัณหา ที่ยอมเสียธรรมดีกว่าเสียผลประโยชน์ เพราะฉะนั้น ฉันทะจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของบุคคล ช่วยให้บุคคลกระทำกิจต่าง ๆ ด้วยฉันทะมิใช่ตัณหา มุ่งเอาชนะงานมิใช่ชนะคน ทำงานอย่างจริงจังยั่งยืนจนสำเร็จ มิใช่ทำงานด้วยความตื่นเต้นแล้วละทิ้งรามือ คนที่มีฉันทะสามารถคิดการทำการเพื่อผลดีงามระยะยาวมิใช่ทำงานสนุกสนาน กล่าวได้ว่า คนที่มีฉันทะ เป็นคนที่ “ใฝ่รู้ สู่สิ่งที่ยาก” ใคร่รู้ข้อบกพร่องของตน ยินดีรับฟังเพื่อเป็นเครื่องชี้ช่องทางปรับปรุงตน และกิจของตนให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นคนที่มีธรรมฉันทะจะใช้วิธีการที่ชอบธรรม และฉลาดในวิธีการ ดังนั้นจึงต้องใช้สติปัญญา
             ความสามารถเหนือกว่าปกติ คนที่มีตัณหามีความมักง่ายในวิธีการของตนสำเร็จไม่ว่าวิธีการนั้นจะชั่วร้าย ทุจริต ฉ้อโกง ไร้ธรรม ผู้มีธรรมฉันทะต้องพึงระวังทางที่ผิดพลาด 2 อย่าง คือ
             1. ปล่อยให้ตัณหาเข้ามาสวมรับหรือชิงบทบาทไปทำแทนฉันทะ
             2. ขาดความรู้หรือไม่แสวงหาปัญญา อาจทำการผิดพลาดได้หากไม่รู้แน่ชัดว่าอะไรเป็นธรรม
ดัง นั้น การพัฒนาฉันทะให้เกิดขึ้นในตัวบุคคล พึงควรระมัดระวังไม่ให้ตัณหามีโอกาสเกิดขึ้น หรือเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ควรรีบละหรือตัดตัณหาเสีย ซึ่งองค์ประกอบที่สำคัญในการสกัดกั้นไม่ให้เกิดตัณหาได้ หรือทำให้เกิดฉันทะทางบวกก็คือ โยนิโสมนสิการ

บรรณานุกรม

เอกสิทธิ์ สนามทอง. ว่าที่ร้อยตรี.  (2552). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาฉันทะทางการเรียนของนักศึกษาสถาบันอุดม ศึกษาเอกชนในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง

พระธรรมปิฎก (ป. อ. ปยุตโต). (2542ข). วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ศยาม.

สืบค้นเมื่อ วันที่ 9 สิงหาคม 2554

ที่มา http://www.idis.ru.ac.th